ข้อแนะนำการย้ายเข้า – สำหรับผู้ซื้อคนไทย
การเปลี่ยนข้อมูลในทะเบียนบ้าน
เจ้าบ้านและเจ้าของบ้านต่างกัน?
โดยทั่วไปเจ้าบ้านคนใหม่จะดำเนินการการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนบ้านเอง ซึ่งก่อนอื่นเราควรทราบข้อแตกต่าง ระหว่าง “เจ้าบ้าน” และ “เจ้าของบ้าน” กันก่อน
- โดยที่เจ้าของบ้านนั้นคือ เจ้าของโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมีชื่อตามสัญญาการซื้อขาย (ท.ด. 13) และมีสิทธิ์ที่จะให้ใครเป็นเจ้าบ้านลงในทะเบียนแทนตนก็ได้ หรือจะไม่มีใครได้เป็นเจ้าบ้านเลยก็ย่อมได้
- ส่วนเจ้าบ้าน คือ สถานะเจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน (อาจจะเป็นเจ้าของโฉนดด้วยหรือไม่ก็ได้)
โดยก่อนที่จะมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน เจ้าของโฉนดต้องไปแสดงตนว่ายินยอมให้คนๆนั้น เป็น “เจ้าบ้าน” ในทะเบียนบ้าน หากต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลัง เจ้าของโฉนดก็สามารถทำได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องรอรับความยินยอมจากเจ้าบ้านคนเดิมก่อน
การเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน
เพื่อป้องกันการเสียเวลากับเอกสารที่อาจผิดพลาด ทางทีมงานขอแนะนำว่าการดำเนินการเรื่องของทะเบียนบ้าน, มิเตอร์ไฟฟ้า, และมิเตอร์น้ำ ผู้ซื้อหากไม่มีเวลาไปทำธุรกรรมต่างๆเอง ทางทีมงานของเรามีบริการจากพนักงานที่ไว้ใจได้และมีความเข้าใจประสานงานกับหน่วยงานราชการให้ ผู้ซื้อสามารถติดต่อนายหน้าขอคำปรึกษาเรื่องพนักงานเดินเอกสาร ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม ผู้ซื้อสามารถดูรายการได้ดังนี้
เอกสารสำหรับย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังเก่า
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะย้ายออกตัวจริง
- หนังสือมอบหมายและยินยอมให้ดำเนินการแทน (โดยเจ้าบ้านที่จะย้ายออก)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ของเจ้าบ้านที่จะย้ายออก)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ย้ายออก)
เอกสารสำหรับย้ายเข้า หรือแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ
- สัญญาซื้อขาย (ทด13) ตัวจริงพร้อมสำเนา แสดงผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในโฉนด
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าตัวจริง
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ย้ายเข้า)
- (เจ้าบ้านคือคนอื่น) หนังสือยินยอมของเจ้าของโฉนด และคู่สมรส (ถ้ามี)
- (เจ้าบ้านคือคนอื่น) สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของโฉนด และคู่สมรส (ถ้ามี)
- (เจ้าบ้านคือคนอื่น) “หนังสือมอบหมายและยินยอมให้ดำเนินการแทน”
การโอนมิเตอร์ไฟฟ้า
เพื่อป้องกันการเสียเวลากับเอกสารที่อาจผิดพลาด ทางทีมงานขอแนะนำว่าการดำเนินการเรื่องของทะเบียนบ้าน, มิเตอร์ไฟฟ้า, และมิเตอร์น้ำ ผู้ซื้อหากไม่มีเวลาไปทำธุรกรรมต่างๆเอง ทางทีมงานของเรามีบริการจากพนักงานที่ไว้ใจได้และมีความเข้าใจประสานงานกับหน่วยงานราชการให้ ผู้ซื้อสามารถติดต่อนายหน้าขอคำปรึกษาเรื่องพนักงานเดินเอกสาร ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม ผู้ซื้อสามารถดูรายการได้ดังนี้
รายการเอกสารกรณีบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนของผุ้โอน พร้อมลงนามรับรอง 2-3 ชุด ระบุ “เพื่อขอเปลี่ยน/โอนผู้ใช้ไฟฟ้าและเงินประกันการใช้ไฟฟ้า”
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมลงนามรับรอง 2-3 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับโอน พร้อมลงนามรับรอง 4-6 ชุด (4 ชุดถ้ามีการมอบอำนาจ)
- สำเนาทะเบียนบ้านขอบผู้รับโอน พร้อมลงนามรับรอง 4-6 ชุด (4 ชุดถ้ามีการมอบอำนาจ)
- ใบเสร็จค่าไฟฟ้ารายเดือนล่าสุด (หากไม่มีให้ใช้เป็นของเดือนก่อนหน้านี้ได้)
- ใบเสร็จเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด (คือใบเสร็จที่ได้ตอนขอเปิดใช้ไฟฟ้าใหม่)
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน (ทด13) ของกรมที่ดินที่ระบุกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อ หรือ สำเนาทะเบียนบ้านที่มิเตอร์ไฟติดตั้งและผู้ซื้อเป็นเจ้าบ้าน พร้อมลงนามรับรอง
- (กรณียกเลิกการตัดบัญชีอัตโนมัติของเก่าหรือเพิ่มการตัดบัญชีอัตโนมัติของใหม่) สำเนาบัญชีที่จะยกเลิกการตัดบัญชีอัตโนมัติ
- “หนังสือมอบอำนาจ” ของผู้โอน 2-3 ชุด (มอบอำนาจให้ผู้รับโอน) และของผู้รับโอน 2-3 ชุด (ถ้ามี)
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 2 ชุด (ถ้ามี) ตามที่ระบุในข้อ 1
รายการเอกสารกรณีนิติบุคคล
เพิ่มเติมจากกรณีบุคคลธรรมดาดังนี้
- เปลี่ยนมาใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการแทนบุคคลจำนวน 2-3 ชุด
- เพิ่มหนังสือรับรองบริษัท (อายุไม่เกิน 3 เดือน) จำนวน 2-3 ชุด
หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายการวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (อาจไม่อัพเดท)
การโอนมิเตอร์ประปา
รายการเอกสารกรณีบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้โอน พร้อมลงนามรับรอง 2 ชุด ระบุ “เพื่อโอนสิทธิ์การใช้น้ำพร้อมเงินประกันกับการประปา”
- และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมลงนามรับรอง 2 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับโอน พร้อมลงนามรับรอง 4 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านขอบผู้รับโอน พร้อมลงนามรับรอง 4 ชุด
- ใบเสร็จค่าน้ำประปารายเดือนล่าสุด (หากไม่มีให้ใช้เป็นของเดือนก่อนหน้านี้ได้)
- ใบเสร็จประกันการใช้น้ำฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด (คือใบเสร็จที่ได้ตอนขอติดตั้งประปาใหม่) ถ้าไม่มีให้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ หรือยอมเสียเงินประกันใหม่ ประมาณ 400 บาท
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน (ทด13) ของกรมที่ดินที่ระบุกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อ หรือ สำเนาทะเบียนบ้านที่มิเตอร์น้ำติดตั้งและผู้ซื้อเป็นเจ้าบ้าน พร้อมลงนามรับรอง
- (กรณียกเลิกการตัดบัญชีอัตโนมัติของเก่าหรือเพิ่มการตัดบัญชีอัตโนมัติของใหม่) สำเนาบัญชีที่จะยกเลิกการตัดบัญชีอัตโนมัติ
- “หนังสือมอบอำนาจ” ของผู้โอน 2 ชุด (มอบอำนาจให้ผู้รับโอน) และของผู้รับโอน 2 ชุด (ถ้ามี)
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 2 ชุด (ถ้ามี)
รายการเอกสารกรณีนิติบุคคล
เพิ่มเติมจากกรณีบุคคลธรรมดาดังนี้
- เปลี่ยนมาใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการแทนบุคคลจำนวน 2 ชุด
- เพิ่มหนังสือรับรองบริษัท (อายุไม่เกิน 3 เดือน) จำนวน 2 ชุด
ทางทีมงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์สำหรับการซื้อขายอสังหาฯของลูกค้า ถ้ายังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการและรายการเอกสารเพิ่มเติมสำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมผ่านลิงค์ด้านล่างนี้คะ
Line ID: @sp6666 (มี @ นะคะ)
click:
ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสบริการลูกค้าทุกท่านอย่างต่อเนื่อง